“รับมือเศรษฐกิจ”
สาวๆ คนไหนที่กำลังเป็นกังวลจิตหงุดหงิดใจ กับภาวะพิษเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ โดยไม่รู้ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีหรือเปล่า ต้องบอกว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยประเทศเดียวเพราะเศรษฐกิจโลกก็อยู่ในช่วงชะลอตัวเช่นกัน ถึงชาวบ้านชาวเมืองรอบข้างก็ยังเศรษฐกิจเติบโตดีกว่าเราอยู่ดี แต่ไม่เป็นไรเพราะวันนี้น้องได้ไปสืบเสาะเคล็ดลับวิธีที่จะช่วยชะนีออฟฟิศที่มีอินคอมจำกัดให้สามารถอยู่รอดพร้อม “รับมือเศรษฐกิจ” กับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองเช่นนี้ได้
ก่อนจะไปพบกับเทคนิคเอาชีวิตรอดในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง คืออย่างแรกเราต้องมีมุมมองต่อปัญหาในเชิงบวกก่อนเพื่อให้ทัศนคติของซิสนั้นพร้อมที่จะไฝว้สู้กับทุกปัญหา แต่เราต้องท่องไว้ว่าเราจะไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจเพราะในอีกแง่มุมหนึ่งทางเศรษฐศาสตร์ ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจมันคือการเกิดใหม่ของโอกาสหรือการกระจายความมั่งคังสู่คนกลุ่มใหม่เหมือนต้นไม้ที่ต้นเก่าตายไป ก็จะมีต้นใหม่เกิดขึ้นมา มายด์เซทพร้อมเราก็ไปดูแต่ละข้อกันเลยดีกว่าค่า
ทำบัญชีรับจ่าย
การเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับการจะรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาใดๆ ในโลก เราต้องกลับมีดูตัวเองหรือรู้จักตัวเองก่อนถูกไหมคะซิส โดยสิ่งนี้เหมือนป็นพื้นฐานที่จะทำให้เราพร้อมก้าวไปอย่างมั่นคง โดยซิสต้องคิดคำนวณจากรายได้ที่ซิสสามารถหาได้กับรายจ่ายจำเป็นที่ซิสจะต้องจ่ายในทุกๆ เดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายจำเป็นก็พวกปัจจัย 4 ต่างๆ รวมทั้งค่าเดินทางและอินเตอร์ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็จะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ อาหารการกิน และ ค่าโทรศัพท์ เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในทุกๆ เดือน โดยซึ่งซิสควรคุมไม่ให้เกิน 30-50% ของรายรับที่ซิสได้ในแต่ละเดือน
ลดภาระหนี้สิน
สิ่งนี้ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญมากๆ ในการดำเนินชีวิตก็ว่าได้ เพราะมันมักจะเกิดจากค่าใช้จ่ายของไลฟ์สไตล์ต่างๆ เป็นสิ่งที่เป็นคุณค่าทางจิตหรือสิ่งที่เรามักจะคิดว่ามันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นซึ่งมาพร้อม Promotion ที่จูงใจเพื่อกระชากเงินในกระเป๋า รวมไปถึงพวกบัตรเครดิต หรือ ค่าผ่อนสิ่งของต่างๆ ภาระหนี้สินถ้าเรามีน้อยและอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการได้มันก็จะดี เพราะใครๆ ก็มีหนี้ทั้งนั้นแหละค่ะ แต่ต้องมีสติและรู้จักใช้ ซึ่งการจะมีภาระหนี้สินต้องพยายามอย่าให้เกิน 30% ของรายได้ที่เราจะได้รับในแต่ละเดือน พยายามจ่ายโดยอย่าให้เกิดดอกเบี้ยถ้าปิดยอดได้ควรปิดเพราะดอกเบี้ยพวกบัตรต่างๆ มันจุกมากๆ โดยบัตรเครดิตจะอยู่ที่ประมาณ 18% และบัตรกดเงินสดจะอยู่ 28% ของเงินต้น คิดดูสิคะ ถ้าติด 10,000 บาท ซิสต้องเสียไปฟรีๆ ถึง 180-280 ต่อเดือน เอามาคูณ 12 เดือน มันก็หลายบาทนะคะ แทนที่จะได้นำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการทำอย่างอื่น
คำนวณค่าใช้จ่ายสินค้าทางใจ
เกิดมาเป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่แค่ผู้หญิงอย่างเราที่ลำบากเพราะการหารายได้มาเลี้ยงชีพ ทุกๆ คนล้วนลำบากค่า เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตและภาระหนี้สิน ซึ่งนางก็มีจุดก่อกำเนิดมาจากปัจจัยที่น้องกำลังจะพูดถึงตอนนี้ เพราะสิ่งของและบริการต่างๆ ที่มีคุณค่าทางจิตใจ ที่ทั้งแบรนด์และนักการตลาด นักทำคอนเทนท์ ได้สร้างสรรค์เรื่องราวเพื่อให้ของบางชิ้นและบริการบางบริการสร้างประสบการณ์ที่คุ้มค่ากับลูกค้าอย่างเรา โดยน้องมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการจะจ่ายเงินให้สินค้าที่มีคุณค่าทางจิตโดยให้ใช้การวางแผนที่ว่าแบ่งเงินไว้ 10% จากเงินเดือนเพื่อที่จะจ่ายให้กับสินค้าเหล่านี้ ซึ่งมันก็จะตกอยู่ที่ เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง และสกินแคร์ หรือการท่องเที่ยว แต่ถ้าของที่มีคุณค่าทางจิตใจเป็นของชิ้นใหญ่และต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากก็ให้แบ่ง % เพื่อเก็บเงินและไม่ให้กระทบกับเงินในบัญชี เพราะเศรษฐกิจแบบนี้ต้องมีสติในการใช้จ่ายค่ะ ท่องไว้ๆ
เก็บเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
การรับมือกับสภาพเศรษฐกิจแย่ คือเราต้องเสริมความมั่นคงให้กับสถานทางด้านการเงินนะคะ เพราะเรากำลังอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงเพราะรายได้จากงานประจำที่ทำอยู่อาจจะหายไปได้ถ้าบริษัทที่เรากำลังทำนั้นเกิดปัญหา ซึ่งก็คงไม่มีใครอยากจะให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นแน่นอน แต่ทางที่ดีคือการจัดการความเสี่ยงไว้ก่อนด้วยการออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน แล้วจำนวนแค่ไหนถึงจะเรียกได้ว่าเราอยู่เซฟโซน โดยน้องขอบอกซิสไว้เลยนะคะ ว่าซิสควรจะคิดจะภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือนว่าถ้าซิสไม่ได้รายได้ในแต่ละเดือนซิสสามารถที่จะอยู่ต่อไปได้เป็นจำนวนกี่เดือน ซึ่งเงินเก็บที่ควรจะมีนอนนิ่งๆ ไว้คือสามารถอยู่ให้ได้ 3-6 เดือน ง่ายๆ ถ้าซิสต้องใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท ซิสก็ควรเก็บเงินฉุกเฉินให้ถึง 60,000-120,000 บาทค่ะ ฟังดูไม่ใช้เรื่องง่าย แต่ซิสต้องทำได้ค่ะ ถ้าเธอพยายาม ค่อยๆ เก็บ ค่อยๆ สะสม แบ่งจากรายรับซัก 10% มาเก็บไว้ยิ่งทำไวยิ่งสำเร็จไวค่ะ
กระจายการลงทุน
ในการเก็บเงินถ้าจะเก็บให้เงินที่มีอยู่ให้มันงอกเงยก็ควรที่จะมองหาการลงทุนเล็กๆ เพื่อจะได้เอาใช้กรุบๆ แต่ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ซิสก็ต้องมีสติมากขึ้น ระมัดระวังยิ่งกว่าเดิมเพราะในการที่จะลงทุนในกองทุนหรือหุ้นที่มีความเสี่ยง อยากเอาเงินไปทุ่มทั้งหมด แต่ควรค่อยๆ ศึกษา โดยอาจแบ่งเงินซัก 10% จากรายได้ในแต่ละเดือน ไปลงทุนโดยใช้เงินน้อยๆ แต่ลงให้หลากหลาย ซึ่งการจะลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของตัวซิสเอง
ระยะสั้น (1-2 ปี) ผลตอบแทนที่คาดหวัง 1-2%
ระยะกลาง (2-5 ปี) ผลตอบแทนที่คาดหวัง 2-4%
ระยะยาว (5 ปี ขึ้นไป) ผลตอบแทนที่คาดหวัง 4-6%
ซึ่งถ้าจะเก็บไว้ใช้เป็นเงินที่อยู่ยาวๆ แบบมั่นคงก็ต้องเลือกแบบระยะยาวแล้วอย่าไปสนใจมันมากนะคะ เก็บเป็นเงินที่เอาไว้ใช้ตอนแก่ไปเลย ซึ่งก็ควรเลือกลงทุนในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม พลังงาน หรือ ปัจจัย 4 เพราะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมั่นคงและจะเติบโตในระยะยาวค่ะ ซึ่งลงอย่างละเล็กละน้อยก็จะดีมากเพราะจะช่วยกระจายความเสี่ยง แต่ถ้าจะให้ลงรายละเอียดการลงตัวแต่ละเป็นอย่างไรคงจะยาวไปไว้ครั้งหน้าค่อยมาพูดถึงเรื่องนี้กันแบบละเอียดๆ นะคะ
หาอาชีพเสริม
ต้องบอกเลยค่ะ ว่าตอนนี้ซิสและน้องได้ก้าวเข้าสู่โลกของออนไลน์กันอย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งงานวิจัยบางงานก็บอกว่าเราใช้เวลากับหน้าจอสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลาสูงสุดถึง 10 ชั่วโมงต่อวันแล้วนะคะ ซึ่งเยอะมากกก เพราะฉะนั้นเราควรมองหาโอกาสจากจุดๆ นี้ ในการสร้างงานสร้างอาชีพทั้งจากการขายของออนไลน์ ซึ่งก็มีแพตฟอร์มมากมายที่มารองรับตั้งแต่หน้าวอลล์เฟส Facebook ของตัวคุณเองไปจนถึง Shoppee หรือ Lazada ก็ได้นะคะ สามารถที่จะสร้างรายได้หาเงินให้คุณได้อีกทางค่ะ หรือมองหาจุดแข็งในตัวคุณเผื่อจะได้ไปเป็นบล็อกเกอร์แล้วได้รีวิวสินค้ายั่วๆ ก็ถือว่าเป็นรายได้อีกทางนะคะ ยิ่งมีรายได้จากหลายทางความเสี่ยงทางด้านการเงินก็จะยิ่งปลอดภัยค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะซิส พอจะเห็นลู่ทางรอดเพื่อเป็น Survivor แล้วหรือยังคะ โดยข้อมูลต่างๆ ครั้งนี้น้องได้ไปศึกษาจากที่ต่างๆ และแอบไปสัมภาษณ์หนุ่มที่ปรึกษาการเงิน Planner รุ่นใหม่ไฟแรง จากบริษัทการเงินแหล่งหนึ่งย่านสาทร คุณ Matas Twitchsri ที่ทำให้หัวใจน้องกระชุมกระชวยด้วยค่ะ ถ้าซิสคนไหนมีปัญหาหนักอกหนักใจลอง DM ไปถามคุณเขาได้ใน IG frank158 นะคะ วันนี้ขอลาไปก่อนนะคะ Ciao…!!
Credit
http://bit.ly/30uiz4h
http://bit.ly/3ajuBSB
http://bit.ly/2Tz8stq
http://bit.ly/2TxixqR
http://bit.ly/2FZXLrS