X

รู้หรือไม่ “ตาล้า” ปวดตา น่ากลัวกว่าที่คิด

Lifestyle 
Sep 09,2020
x plaiplaiplai
ตาล้า 2020
"ตาล้า" เกิดจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ Beauty Hunter เลยอยากมาเตือนว่าอาการตาล้ามันน่ากลัวกว่าที่คิด อาจจะส่งผลระยะยาวได้เลย

“ตาล้า”

ฮัลโหลค่ะสาวๆ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของอาการ “ตาล้า” ที่เกิดจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เยอะ ๆ แบบที่ซิสกำลังมองจอกันอยู่ตอนนี้เนี่ยแหละค่ะ Beauty Hunter เลยอยากมาเตือนสาว ๆ ว่าอาการตาล้ามันน่ากลัวกว่าที่คิดนะคะซิส อาจจะส่งผลระยะยาวได้เลย จะเป็นยังไงรีบไปดูกันเลยค่ะ

 

ตาล้า คืออะไร

ตาล้า คืออะไร

ตาล้า (Asthenopia) หรือกล้ามเนื้อตาล้าคือ อาการผิดปกติบริเวณดวงตา ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น อย่างสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ที่เราแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องทำงานจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน วันละหลายชั่วโมง แถมนอกเหนือจากเวลางาน เราก็ยังเล่นสมาร์ทโฟนกันวันละหลายชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาของเราสุด ๆ และก่อให้เกิดอาการตาล้านั่นเอง อีกทั้งในปัจจุบันคนเราก็มีอาการตาล้าเยอะขึ้นกันมาก ๆ จนกลายเป็นโรคยอดฮิตเลยก็ว่าได้

 

ตาล้า อาจมีอาการร้ายแรงกว่าที่คิด #ยิ่งล้ายิ่งพัง

ตาล้า อาการ

จากพฤติกรรมที่เล่าให้ฟังไปข้างต้น ก็คือเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนทำกันแทบทุกวันเลย ซึ่งสาว ๆ บางคนอาจจะมีปัญหากล้ามเนื้อตาล้าแบบไม่รู้ตัวไปแล้วก็ได้นะคะซิส และการปล่อยไว้แล้วใช้สายตาแบบเดิมไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้อาการของกล้ามเนื้อตาล้ารุนแรงกว่าที่คิด โดยสามารถแบ่งอาการได้เป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่

 

ปวดกระบอกตา

เกิดขึ้นจากการใช้สายตาอย่างหนัก ในการเพ่งมองระยะใกล้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การทำงานฝีมือที่ต้องใช้ความละเอียด ตลอดจนการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งพฤติกรรมพวกนี้จะทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา บริเวณขมับ ไปจนถึงท้ายทอย เวียนหัว และบางคนอาจจะถึงขั้นคลื่นไส้เลยทีเดียว

 

สายตาสั้นเทียม

ชาวสายตาปกติเคยเป็นกันมั้ยคะ ตอนจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนมาก ๆ อยู่ ๆ ก็รู้สึกว่าตัวเองมองไม่ชัด เลยคิดว่าตัวเองสายตาสั้นแล้วชัวร์ แต่จริง ๆ แล้วซิสอาจจะกำลังเจอกับภาวะสายตาสั้นเทียมก็ได้นะคะ ซึ่งอาการนี้เกิดจากการหดตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กที่อยู่ในลูกตา ปกติกล้ามเนื้อเหล่านี้จะทำงานด้วยการหดและคลายตัวสลับกันอยู่ตลอด แต่การที่เราใช้สายตาในการเพ่งหน้าจอเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา หรือกล้ามเนื้อตาหดตัวอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดภาวะเหมือนคนสายตาสั้นได้เช่นกัน

 

Computer Vision Syndrome (CVS)

Computer Vision Syndrome หรือ CVS เป็นอาการที่เกิดจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ตามัว แสบตา จนอาจนำไปสู่การปวดศีรษะหนักจนทำงานทำการต่อไม่ไหว ต้องไปนอนพักกันเลยทีเดียว

 

อาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็อาจบานปลายกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวได้ เพราะการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อดวงตาสามารถก่อให้เกิดความตึงเครียดของร่างกาย ซึ่งจะกระทบไปถึงอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อของร่างกายในบริเวณอื่น เช่น ใบหน้า กราม และขมับ

นำไปสู่อาการอ่อนล้าสะสม และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และหากยังละเลยไม่ยอมดูแลสุขภาพดวงตา อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคดวงตาอื่น ๆ ที่รุนแรงแบบสุด ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม หรือกล้ามเนื้อตาเกิดการเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรอีกด้วย

 

ตาล้า แก้ไขและป้องกันยังไงดี

ตาล้า วิธีแก้

ถ้ายังไม่มีอาการเราก็ต้องป้องกันไว้ก่อน แต่ถ้ามีอาการตาล้าเกิดขึ้นแล้ว และไม่อยากให้มันรุนแรงจนพัฒนาเป็นโรคน่ากลัว ๆ เราก็ต้องรีบแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราค่ะ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

 

พักผ่อนสายตาสม่ำเสมอ

พักสายตาจากการเพ่งอ่านหนังสือหรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยใช้สูตร 20-20-20 นั่นก็คือทุก ๆ 20 นาทีให้ละสายตาจากหน้าจอที่จ้องอยู่ แล้วพักสายตาด้วยการมองวัตถุที่ห่างในระยะไกลประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที

 

บริหารดวงตา

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบดวงตาด้วยการกรอกตาไปมาซ้ายไปขวา และเปลี่ยนมากรอกตาจากบนลงล่าง โดยทำต่อเนื่องกัน 5-10 ครั้ง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาแข็งแรง และสามารถแก้อาการตาล้าหรือปวดตาได้

 

สวมแว่นตาที่ช่วยลดภาระกล้ามเนื้อตา

ใช้แว่นตาที่เป็น “Lens Zeen” ซึ่งตอนนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ของหอแว่น Lens Zeen เป็นเลนส์ชั้นเดียวที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาล้า ใส่แล้วจะผ่อนคลาย สบายตา สามารถใช้ได้ทั้งคนสายตาสั้นและสายปกติ ซึ่งเลนส์นี้ ชีมีความปัง ฉลาดล้ำโลกมาก เช่น

  • Identity: คำนวณตำแหน่งการมองตามลักษณะการสวมใส่ เฉพาะบุคคล
  • Digital Profile: เป็นเลนส์ที่เหมาะกับชีวิตยุคดิจิตอล จ้องหน้าจอทั้งวัน
  • Individual Inset: กำหนดค่า Inset ได้ละเอียดมาก ในระดับ 0.1 มม.
  • Boost Accommodation: ช่วยบรรเทาอาการเพ่งในโฟกัสระยะใกล้
  • Profiles Options: เลือกกำลังสายตาลดการเพ่งได้ 3 โปรไฟล์
  • Any Frame: เหมาะสำหรับกรอบแว่นตาทุกรูปแบบ

 

ซึ่ง Lens Zeen ชีก็มีหลายวัสดุ หลายคุณสมบัติให้เลือกสรรเว่อร์ทั้งวัสดุชีวภาพ เลนส์ที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน มีความบางมากเป็นพิเศษ, วัสดุ Bluloc ป้องกันแสงสีฟ้าได้ 95% ตัดปัญหาแสงสะท้อน, วัสดุ Tribrid & Trivex เลนส์แข็งแกร่งคงทนแต่บางเบาอีกด้วย และที่ดีอีกอย่างคือชีเคลือบผิว X1R ช่วยป้องกันกันรังสีอินฟาเรดและแสงสีแดงที่มีอุณหภูมิสูง ป้องกันการเสื่อมของดวงตาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกได้อย่างดีเยี่ยม

 

หยอดน้ำตาเทียม

เมื่อมีอาการตาแห้งจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ให้หยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตาได้ในทันที

 

ปรับแสงสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม

ควรตั้งค่าแสงสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนให้มีความสว่างอยู่ในระดับที่เหมาะสม ปรับขนาดตัวอักษรให้สบายตา และทำงานในที่ ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ

 

เห็นแล้วใช่มั้ยคะ ว่าปัญหาที่เราคิดว่ามันเล็ก ๆ แสนธรรมดาก็อาจจะมีผลกระทบกับชีวิตและร่างกายของเรามากกว่าที่คิด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องดูแลรักษาดวงตาของเราให้ดี ไม่ใช้งานดวงตาหนักเกินไป พักสายตาบ่อย ๆ และสม่ำเสมอ แล้วก็อย่าลืมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำตามวิธีป้องกันด้วยนะคะซิส ไปพักสายตากันได้แล้วค่ะ ด้วยรักและเป็นห่วง

 

สำหรับสาวๆ ที่อยากรู้เรื่อง Lens Zeen เพิ่มเติม ตามไปอ่านกันได้ที่ เว็บไซต์ และ Facebook ของหอแว่นเลยจ้า

Advertisement
plaiplaiplai
ชานมคือเลือด ไข่มุกคือเม็ดเลือด
Advertisement

Advertisement