5 ทริค “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ” ให้คล่องขึ้น แม้ไม่เก่งภาษาอังกฤษ!

“อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ” สาว ๆ หลายคนอยากฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ตัวเองใจจะขาด นอกเหนือจากการดูหนังฟังเพลง สิ่งที่ฝึกง่ายที่สุดแบบไม่เสียเงินก็คือการ “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ” แต่หนังสือภาษาอังกฤษดันเหมือนยาขม เพราะเรากลัวว่ารู้ศัพท์น้อยไปจะอ่านไม่ได้? อ่านไปต้องเปิดพจนานุกรมไปไหม? หนังสือแบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา? และนี่คือ 5 ทริค “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ”ให้คล่องขึ้น แม้ไม่เก่งภาษาอังกฤษ! รับรองอ่านจบเล่มแบบชิล ๆ เลือกเล่มที่เหมาะกับความรู้เรา “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ” ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะอ่านเล่มไหนก็ได้ เราควรเลือกเล่มที่เหมาะกับระดับคลังคำศัพท์ภาษาอังกฤษในหัวเรา ซึ่งต่อให้เรารู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่มาก แต่ก็ย่อมมีเล่มที่เหมาะกับเราอยู่ดี เช่น วรรณกรรมเยาวชน ที่ภาษาไม่ซับซ้อนเกินไป ในหนึ่งย่อหน้า ถ้าเราลองเปิดมาแล้วพอรู้ศัพท์เกิน 10 คำก็ถือว่าใช้ได้ เริ่มลงมืออ่านเล่มนั้นได้ชิล ๆ ในขณะที่บางเล่มปกสวย ชื่อหรูหราถูกใจ แต่ถ้าเปิดไปแล้วศัพท์ส่วนใหญ่เราไม่รู้เลย ก็อาจต้องรอไว้ก่อน สักวันเราจะอ่านมันได้ เมื่อฝึกมากพอ แค่วันนี้ยังไม่ใช่วันของเรา เล่มบางสร้างกำลังใจได้ดีกว่า การเริ่มต้น “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ” สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือกำลังใจ เราต้องเชื่อว่าเราทำได้ เมื่อเราอ่านจบหนึ่งเล่ม สองเล่ม สามเล่ม ทำให้เรามีแรงฮึดและเชื่อมั่นในตนเอง ดังนั้นนอกจากเลือก “อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ”ที่เหมาะกับระดับคำศัพท์ที่เรามี ซิสควรเริ่มจากเล่มบาง ๆ ไว้ก่อน ไม่ใช่เล่มแรกก็ปาไปห้าร้อยหน้า ใจเราจะท้อ […]

สอบก็รอด พรีเซนต์ก็เริ่ด 5 ทริค “อ่านแล้วจำแม่น” ที่สาว ๆ ต้องลอง

“อ่านแล้วจำแม่น” เบื่อไหมคะสาว ๆ กับปัญหาการอ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าหัว อ่านยังไงก็ไม่จำ จะไปสอบก็เศร้า จะไปพรีเซนต์งานก็แซด แต่ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไปถ้าสาว ๆ ที่ลืมเก่งนำ  5 ทริค “อ่านแล้วจำแม่น” ต่อไปนี้ไปใช้ รับรองเลยว่าสอบก็รอด พรีเซนต์ก็เริ่ด! อ่านแล้วจำแม่นต้องอ่านสารบัญ เชื่อว่าสาว ๆ ส่วนใหญ่เลือกมองข้ามสารบัญและคำนำ เพราะคิดว่ามันช่างไร้ประโยชน์สิ้นดี! แต่หนึ่งในทริค “อ่านแล้วจำแม่น” คือการเริ่มเปิดดูเนื้อหาคร่าวๆของทั้งเล่มจากสารบัญเพราะสารบัญจะเป็นตัวบอกว่าอะไรคือแกนของหนังสือเล่มนี้และไล่เรียงไปอย่างไรทำให้เราจำและเก็บแก่นหลักได้และนำไปใช้พรีเซนต์ต่อได้หลังจากที่เราอ่านและทำความเข้าใจทั้งหมดแล้ว อ่านแล้วจำแม่นต้องอ่านเป็นช่วง ๆ อย่าหักโหม สมองคนเราจะสามารถจดจำเนื้อหาของสิ่งที่อ่านได้ดีที่สุดในช่วง 5 นาทีแรก และ 5 นาทีสุดท้าย ดังนั้นถ้าอยาก “อ่านแล้วจำแม่น” การอ่านเป็นช่วง ๆ อาจจะช่วงละ 15-20 นาทีแล้วพักสายตาปล่อยให้สมองได้จดจำย่อมดีกว่าโหมอ่านทีเดียวครั้งละนาน ๆ อ่านแล้วจำแม่นต้องอ่านแล้วเน้นข้อความสำคัญ อีกทริคของการ “อ่านแล้วจำแม่น” คือการที่เราเน้นข้อความสำคัญข้อความสะดุดใจข้อความที่เราสนใจเป็นพิเศษเอาไว้จะทำให้เราจำได้ว่าเนื้อหาแต่ละช่วงนั้นมีตรงไหนที่เป็นส่วนที่โดดเด่นเป็นพิเศษหรือแม้แต่ตอนที่ต้องไปพรีเซนต์การเน้นข้อความสำคัญไว้ช่วยให้เรานำข้อความนั้นไปพูดไปย่อยและถ่ายทอดต่อได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะการเน้นข้อความสำคัญด้วยปากกาสีสมองเราจะตอบสนองต่อสีสันได้ดีอีกด้วย อ่านแล้วจำแม่นต้องอ่านแล้วต้องถ่ายทอด การอ่านคือการรับเข้าและปล่ยอให้ไหลไป ถ้าเราไม่ถ่ายทอดออกไปด้วยคำพูดของตำเอง สำนวนภาษาของตัวเอง สิ่งที่อ่านก็จะเป็นเพียงภาษาของคนอื่นที่ไม่เข้าหัว เข้าหู เข้าสมองเรา ดังนั้นถ้าอยาก “อ่านแล้วจำแม่น” เมื่ออ่านจบแต่ละส่วนแล้ว ให้ถ่ายทอดออกมา […]

Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement