!function(f,b,e,v,n,t,s){if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)};if(!f._fbq)f._fbq=n; n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0';n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0];s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script','https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '643957969115365'); fbq('track', 'PageView'); window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-BVKHCV1NVP');
X

“สิวฮอร์โมน” ให้หายเกลี้ยง จัดการได้ด้วยวิธีที่ง่ายและได้ผล คนเป็นสิวต้องอ่าน !

Activities & News 
May 14,2025
x Wonglada Chanklin
"สิวฮอร์โมน" ให้หายเกลี้ยง จัดการได้ด้วยวิธีที่ง่ายและได้ผล คนเป็นสิวต้องอ่าน !

“สิวฮอร์โมน” ให้หายเกลี้ยง จัดการได้ด้วยวิธีที่ง่ายและได้ผล คนเป็นสิวต้องอ่าน !

"สิวฮอร์โมน" ให้หายเกลี้ยง จัดการได้ด้วยวิธีที่ง่ายและได้ผล คนเป็นสิวต้องอ่าน !

“สิวฮอร์โมน” คำนี้หลายคนอาจคุ้นหูดี แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันยังไงให้หายเกลี้ยง ! ไม่ต้องห่วงนะ วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จัก วิธีจัดการสิวฮอร์โมนทั้งในผู้ชายและผู้หญิงแบบง่าย ๆ ที่ได้ผลจริง โดยไม่ทำให้ผิวเสียหาย และยังแนะนำวิธีรักษาสิวฮอร์โมนโดยแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง มาดูกันสิว่าคุณหมอใช้วิธีไหนบ้างในการรักษาแต่ละคน เพื่อช่วยให้คุณเลือกวิธีรักษาได้เหมาะกับตัวเองและกลับมามีผิวสวยใส ไร้สิวอย่างมั่นใจ !

 

สิวฮอร์โมนคืออะไร? เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

สิวฮอร์โมนคืออะไร? เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) คือเจ้าสิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ฮอร์โมนแปรปรวน เช่น ช่วงวัยรุ่นที่ฮอร์โมนกำลังบ้าพลัง, ก่อนและระหว่างรอบประจำเดือน, หรือแม้กระทั่งตอนตั้งครรภ์ หรือใช้ยาคุมกำเนิด เจ้าสิวชนิดนี้มักจะชอบแอบมาขึ้นที่บริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ ดังนั้นไม่ว่าจะในผู้ชายหรือผู้หญิง ก็เป็นสิวฮอร์โมนได้เหมือนกันหมด

 

ลักษณะสิวฮอร์โมน สังเกตได้ชัดรักษาได้ง่ายขึ้น

สิวฮอร์โมนมีลักษณะเด่นที่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลย คือมักจะขึ้นเป็น “สิวอักเสบขนาดใหญ่” และเมื่อ “สัมผัสแล้วเจ็บ” ได้ง่าย อาจมีหนองบางส่วน ส่วนใหญ่จะอยู่ในจุดที่มีต่อมไขมันเยอะ โดยมันเกิดขึ้นได้บ่อยหรือกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

 

จุดที่สิวฮอร์โมนมักมาเยือนบ่อย ๆ

สิวฮอร์โมนคืออะไร? เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

ตำแหน่งบนร่างกายที่เกิดสิวฮอร์โมนได้ง่าย มักเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันเยอะ ซึ่งเมื่อฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป จนทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้บ่อย ๆ ในบริเวณดังนี้

  • ใบหน้า

โดยเฉพาะ บริเวณ T-zone (หน้าผาก, จมูก, คาง) ที่มีต่อมไขมันมาก มักเกิดสิวประเภทอักเสบได้ง่าย

  • คอ 

ซึ่งเป็นจุดที่มักเกิดสิวอักเสบที่มีขนาดใหญ่และเจ็บมาก

  • หลัง

เพราะมีต่อมไขมันมากและเป็นพื้นที่ที่มีการเสียดสีจากเสื้อผ้า จึงทำให้เกิดสิวได้ง่าย

  • หน้าอก 

ซึ่งมีการเสียดสีจากเสื้อผ้าระหว่างวันและเป็นจุดที่มีต่อมไขมันทำให้เกิดสิวได้บ่อย

  • ไหล่

เป็นอีกหนึ่งจุดที่สิวฮอร์โมนมักขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่ฮอร์โมนแปรปรวน  

 

สาเหตุเกิดสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งสามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันในต่อมไขมันมากเกินไป ส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้ง่าย โดยสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

  • ช่วงวัยรุ่น

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนมากขึ้น โดยเฉพาะ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป หรือก้าวสู่วัยรุ่นชายเต็มตัว ก็จะผลิต ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ออกมาเยอะ เป็นสาเหตุให้เกิดสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน

  • ระหว่างรอบเดือนผู้หญิง

ผู้หญิงหลายคนมักพบสิวในช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน (Androgens) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ไปกระตุ้นให้เกิดสิว

  • ตั้งครรภ์

ระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่สามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมัน

  • ใช้ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดบางชนิด สามารถทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ เนื่องจากตัวยาเข้าไปเพิ่มระดับฮอร์โมนในร่างกาย

  • อารมณ์เครียด

ความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้นและอาจทำให้เกิดสิวได้

  • โรคหรือปัญหาฮอร์โมนอื่น ๆ

เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ที่ทำให้เกิดการแปรปรวนของฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดสิวได้

  • อาหารบางชนิด

อาหารกระตุ้นสิวฮอร์โมน มักจะเป็นอาหารที่ใส่น้ำตาลสูง (Glycemic Index) เช่น ขนมปังขาว, มันฝรั่ง, ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มรสหวานมาก เป็นต้น

 

เป็นสิวฮอร์โมน เลือกใช้อะไรให้หาย?

สิวฮอร์โมนคืออะไร? เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือวิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้หายนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนและชนิดของสิวที่เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่สามารถช่วยให้สิวฮอร์โมนหายได้

 

✅เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวฮอร์โมน

  • เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้สิวเกิดขึ้นและลดการอักเสบ เหมาะกับสิวที่มีหนองหรือสิวอักเสบ
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันในรูขุมขน เหมาะสำหรับสิวที่เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน
  • กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและช่วยให้รูขุมขนเปิดโล่ง ลดการอุดตัน
  • น้ำมันต้นชา (Tea Tree Oil) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยลดการอักเสบ

✅ดูแลผิวหน้าให้สะอาดเสมอ

ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน(Non-comedogenic) ไม่ทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคือง ร่วมกับใช้มอยเจอร์ไรเซอร์แบบ Oil-free เป็นประจำ

✅การควบคุมความเครียด

ความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตฮอร์โมน คอร์ติซอล ซึ่งทำให้สิวฮอร์โมนขึ้นได้ ควรหาเวลาผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการนอนหลับที่เพียงพอ เป็นต้น

✅เลือกกินอาหารมากขึ้น

ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรือ อาหารที่มีกรดไขมันไม่ดี (Trans fats) ซึ่งอาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้สิวขึ้น เลือกทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบ เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี และ อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลา, ถั่วหรือเมล็ดพืชต่าง ๆ

 

วิธีจัดการสิวฮอร์โมนในผู้ชาย VS ผู้หญิง มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

การใช้ยาคุมกำเนิด

ผู้ชาย: ไม่ใช้ยาคุมกำเนิด เนื่องจากไม่ได้มีผลกับฮอร์โมนในลักษณะเดียวกับผู้หญิง

ผู้หญิง: การใช้ยาคุมกำเนิดในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเหมาะสมแล้ว จะสามารถช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดสิวได้

รักษาโรคที่เกี่ยวโยง

ผู้ชาย: มักจะจัดการสิวฮอร์โมนด้วยการควบคุมความเครียดและการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับสิวโดยตรง (เช่น ยาทาเฉพาะจุด) มากกว่า

ผู้หญิง: หากมีปัญหาฮอร์โมนแปรปรวน เช่น จากการตั้งครรภ์หรือโรค PCOS จำเป็นต้องใช้เข้ารักษากับแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด

ความเครียดและวิถีชีวิต

ผู้ชาย: มักจะจัดการกับสิวฮอร์โมนด้วยการออกกำลังกายและการลดความเครียดเป็นหลัก เพราะการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในระดับสูงสามารถกระตุ้นการเกิดสิว

ผู้หญิง: ความเครียดก็เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ในบางช่วง เช่น ก่อนประจำเดือนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการที่มีผลต่อการปรับสมดุลฮอร์โมน เช่น การใช้ยาฮอร์โมน

ปรับพฤติกรรมและการรับประทานอาหาร

ผู้ชาย: ด้วยระบบเผาผลาญที่ดีกว่าผู้หญิง หากเป็นสิวฮอร์โมนอาจเน้นไปที่การออกกำลังกายและการลดความเครียดเป็นหลัก

ผู้หญิง: การปรับอาหารและควบคุมฮอร์โมน เช่น ลดการบริโภคน้ำตาลหรืออาหารที่มีกรดไขมันไม่ดี อาจช่วยได้ผลดีกว่าแค่การออกกำลังกาย หรือควบคุมความเครียดอย่างเดียว

การรักษาสิวฮอร์โมนโดยแพทย์ผิวหนัง

การรักษาสิวฮอร์โมนโดยแพทย์ผิวหนัง มีหลายวิธีที่สามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและลดการเกิดสิวได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของสิว โดยแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล ดังนี้

ยาทาเฉพาะจุด

สิวฮอร์โมนคืออะไร? เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

  • เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) 

ช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้สิวเกิดขึ้นและลดการอักเสบ

  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)

ช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันในรูขุมขน

  • เรตินอยด์ (Retinoids)

ช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันของรูขุมขน ช่วยในการลดการเกิดสิวและลดการอักเสบ

ยากินรักษาสิว

  • ยาคุมกำเนิดชนิดรวม (Combined Oral Contraceptive – COC)
    เช่น Ethinyl estradiol และ Progestin ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและลดการผลิตน้ำมันที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
  • ยาต้านแอนโดรเจน (Anti-Androgens)

เช่น สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ซึ่งช่วยลดการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเกิดสิว

  • ยาปฏิชีวนะ (Oral Antibiotics) 

เช่น เตตราไซคลิน (Tetracycline), โดคซีไซคลิน (Doxycycline) และ มิโนไซคลีน (Minocycline) ใช้ในการรักษาสิวที่มีการอักเสบรุนแรง โดยช่วยฆ่าแบคทีเรียและลดการอักเสบ

  • รักษาด้วยแสง 

การบำบัดด้วยแสง (Photodynamic Therapy) ใช้แสงเพื่อฆ่าแบคทีเรียและลดการอักเสบที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

  • รักษาด้วยเลเซอร์

เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มักใช้ Pulsed Dye Laser หรือ เลเซอร์ Fractional CO2 ที่ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน แถมยังช่วยให้รอยสิวหายเร็วขึ้น

  • ผลัดเซลล์ผิว

ใช้กรดเพื่อผลัดเซลล์ผิวชั้นบนออก ช่วยให้รูขุมขนเปิดโล่ง ลดการอุดตัน และลดการอักเสบจากสิว โดยมีกรดต่างๆ เช่น กรดไกลโคลิก หรือ กรดซาลิไซลิก ที่เหมาะกับการรักษาสิว

  • ฉีดสิว

การฉีดยาสเตียรอยด์ (Steroid Injections) ใช้สำหรับสิวอักเสบหนักหรือซีสต์ใหญ่ โดยมักเจอในกรณีคนไข้เป็นสิวฮอร์โมนบ่อยเช่นกัน แพทย์จะฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบและช่วยให้สิวยุบลงเร็วขึ้น

 

สรุป✨

สิวฮอร์โมน ไม่ใช่ปัญหาที่น่ากลัวอย่างที่คิด  แม้จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย และอาจเกิดได้บ่อย แต่หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ดูแลผิวให้สะอาด และการจัดการความเครียด ก็สามารถลดสิวฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ชายจะเน้นการควบคุมความเครียดและการออกกำลังกาย 

ส่วนผู้หญิงอาจต้องพิจารณาการเข้าพบแพทย์ผิวหนัง หรือแพทย์เฉพาะทาง เพื่อใช้ยาคุมกำเนิดหรือการรักษาฮอร์โมนที่ผิดปกติจากอวัยวะภายในเพิ่มเติม เพื่อรักษาให้หายขาด เพียงเท่านี้ก็จัดการสิวฮอร์โมนอย่างมีสไตล์ได้ทั้งหญิงและชายเลยล่ะ


Beauty Hunter มีอีกหลายบทความที่น่าสนใจ ตามไปอ่านต่อกันเลยค่ะ

Advertisement
Wonglada Chanklin
Advertisement

Advertisement
/* */