X

ไขความลับ Google search ค้นอะไรก็เจอ อยากรู้อะไรก็โดน

Recommend 
Feb 15,2017
x Primpana

อยากรู้อะไร นางก็ตอบเราได้ คลิ๊กเดียว รู้เรื่อง! ใช่แล้ว…เรากำลังพูดถึงเว็บไซต์เสิร์ชเชอร์แสนรู้อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Google ที่ไม่ว่าเราจะอยากรู้อะไร นางก็ตอบเราได้หมด โดยไม่เคยปริปากบ่นสักคำ (แน่ล่ะ ก็นางพูดไม่ได้) แต่หลายครั้ง “อากู๋” แกก็เคยทำให้เราวืด เพราะหาเท่าไหร่ ก็ไม่เจอข้อมูลที่เราต้องการ นั่นอาจเป็นเพราะว่าสาวๆ ไม่รู้เคล็บลับในการเสิร์ชกูเกิลต่างหากล่ะ

.

160217-tricks-searching-google

Photo Credit | via pexels.com

เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เพียงแค่มีอินเตอร์เนต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลได้เพียงไม่กี่วินาที ซึ่งกูเกิลได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ จนนักเรียนนักศึกษาบางคนยังเคยเอ่ยปากถึง Google ว่า “ถ้าฉันไม่ได้แก ฉันเรียนไม่จบแน่” แต่ถ้าสาวๆ อยากรู้วิธีค้นหาข้อมูลแบบมือโปร คลิ๊กปุ๊ป เจอปั๊ป! เราได้ HUNT! คำตอบมาฝากทุกคนแล้วค่ะ รับรองว่าจากนี้ สามารถหาข้อมูลได้แม่นยำกว่าเดิมแน่นอน!

.


.

พิมพ์คีย์เวิร์ดสั้น กระชับ

หลายคนน่าจะเคยสงสัยว่าทำไมหาข้อมูล ในหัวข้อเดียวกัน คนอื่นหาข้อมูลได้เร็วกว่า เยอะกว่า และลึกกว่า ส่วนตัวเรากลับหาข้อมูลได้เพียงเล็กน้อย แถมบางครั้งยังไม่ค่อยเป็นประโยชน์สักเท่าไหร่ สาเหตุหนึ่งก็เพราะสาวๆ ไม่รู้ทริคในการเอาชนะ “อากู๋” ยังไงล่ะ ซึ่งคำแนะนำเบสิคที่เราจะบอกก็คือพยายามใส่คีย์เวิร์ดให้ “สั้น กระชับ” มากที่สุด หรือถ้ามีคีย์เวิร์ดหลายคำ (ไม่ควรเกิน 2-3 คำ) ให้ใช้การ “เว้นวรรค” เพื่อให้อากู๋สามารถควานหาข้อมูลได้ตรงจุดและแม่นยำมากขึ้น

.

ใช้ Tools ให้เป็นประโยชน์

ด้านล่างขวามือของ Google Search Box มีคำว่า “Tools” หรือ “เครื่องมือ” อยู่ ซึ่งเจ้าแทบเครื่องมือนี้ ประกอบไปด้วย ขอบเขตประเทศและขอบเขตเวลา ซึ่งตรงนี้เองที่จะช่วยให้เราสโคปข้อมูลที่ต้องการหาให้แคบลง หรือถ้าอยากสโคปให้เนื้อหาเป็นในรูปแบบของรูปภาพ, วิดีโอ, ข่าวสาร หรือแผนที่ก็จะมีออปชั่นให้เราเลือกอีก ในที่นี้ เราแค่อยากจะบอกว่าลองพยายามเล่นและทำความคุ้นเคยกับกูเกิลให้มาก แล้วสกิลการหาข้อมูลของเราก็มาดีขึ้นนั่นเอง 

.

.

-v.

site: + ชื่อเว็บ + คีย์เวิร์ด

บางครั้งเราต้องการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเจาะจงเว็บไซต์ เพียงแค่สาวๆ พิมพ์คำว่า “site: + ชื่อเว็บ + คีย์เวิร์ด” ตัวอย่างเช่น site: Beauty Hunter เทรนด์แฟชั่น เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ข้อมูลที่เราต้องการจากเว็บไซต์นั้นๆ  หรือถ้าต้องการจำกัด “ประเภทไฟล์” (File Type) ไม่ว่าจะเป็น .doc .ptt หรือ .pdf ทำได้โดยพิมพ์ “filetype: + นามสกุลไฟล์ที่เป็นตัวย่อ + คีย์เวิร์ด” ซึ่งการเสิร์ชประเภทนี้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการค้นหาข้อมูลทำรายงาน ทำงานวิจัย หรืองานที่เป็นทางการสักหน่อย เพื่อให้ได้ไฟล์ข้อมูลฉบับสมบูรณ์

.

.

.

ค้นหาในช่วงเวลา

บ่อยครั้งที่เราต้องการหาข้อมูลที่อัพเดทหรือไม่ก็อยากได้ข้อมูลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ยากค่ะ! ถ้าเราต้องการหาข้อมูล โดยจำกัดช่วงเวลา สามารถแบ่งออกได้ 2  วิธี คือ วิธีแรก เลือกเมนูเครื่องมือ เพื่อเลือกช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น ชั่วโมงที่ผ่านมา สัปดาห์ที่ผ่านมา ปีที่แล้ว หรือถ้าจะให้แอดวานซ์ขึ้นไปก็แค่เลือกเมนู Custom range ออปชั่นนี้สามารถระบุวันที่ได้เลย จากวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่ ง่ายละสิ!

.

.

.

โยนรูปลงกล่องเสิร์ช

ข้อนี้ ถือเป็นประโยชน์ในการต้องการหาเครดิตรูปภาพ เช็คข้อมูลจากรูปนั้นๆ อย่างที่เห็นกันบ่อยก็คือในเคสข่าวลือต่างๆ ที่มีคนมาปล่อยตามโซเชียล ซึ่งหลายคนใช้วิธี Search Google for image เพื่อเช็คความชัวร์ของข่าวนั้น หรือรูปนั้นๆ ว่าเป็นข่าวเก่าหรือไม่ วิธีง่ายๆ เพียงแค่คลิ๊กขวาบนรูปภาพนั้นๆ ก็จะได้รู้ข้อมูลแล้ว หรือใครที่เซฟรูปไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่ลืมที่มาของรูป ก็แค่ลากรูปมาบนหน้าเว็บไซต์กูเกิล เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้ได้แล้วว่าภาพนี้มีที่มาจากไหน

 

 

Advertisement
Primpana
Advertisement
Advertisement
Advertisement

Advertisement