“คลายเครียด” ง่ายๆ แค่กิน! รวมอาหารอร่อยแต่กินยังไงก็ไม่อ้วน
สาววัยเรียน วัยออฟฟิศที่วันๆ ต้องทำแต่งาน ยิ่งเครียดก็ยิ่งกินใช่ไหมคะ แต่จะกินยังไงให้ “คลายเครียด” และน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นด้วย เรามีสิ่งดีๆมาแนะนำ
สาววัยเรียน วัยออฟฟิศที่วันๆ ต้องทำแต่งาน ยิ่งเครียดก็ยิ่งกินใช่ไหมคะ แต่จะกินยังไงให้ “คลายเครียด” และน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นด้วย เรามีสิ่งดีๆมาแนะนำ
“ภาวะซึมเศร้า” แม้ “ภาวะซึมเศร้า”จะเป็นอาการป่วยทางใจที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ แต่เมื่อ “แทยอน” ศิลปินเกาหลีใต้ ลีดเดอร์วง SNSD หรือที่อาจรู้จักกันในชื่อ Girls’ Generation ออกมายอมรับว่าเธอกำลังทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้า ทุกคนก็กลับมาใส่ใจกับประเด็นนี้กันอีกครั้ง BEAUTY HUNTER เชื่อว่าสังคมนี้พร้อมยื่นมือไปโอบกอดทุกคนที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้าอยู่ แต่หากมีอะไรที่พอจะเลี่ยงได้ หรือบอกให้คนที่เรารักเลี่ยงได้ก็ยิ่งดี นี่จึงเป็นอาหารที่ควรเลี่ยงถ้าคุณมีความเสี่ยงอยู่ในภาวะซึมเศร้า รู้ไว้ จะได้ไม่ไปเผลอกินนะคะซิส หวาน ๆ เหมือนจะดี แต่ที่จริงไม่ดีนะคะ สาว ๆ หลายคนอาจเคยคิดว่าเวลาตัวเองหรือคนที่เรารักเศร้าก็พาไปตะลุยกินของหวานให้หายเศร้าไปเลย แต่จริง ๆ แล้วอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือมีรสหวานจัดนั้นไม่ดีกับผู้มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากเวลาที่เรากินอาหารที่มีน้ำตาลสูงเข้าไป ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปเร็วกว่าปกติ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งปรี๊ดอย่างรวดเร็วจนส่งผลต่ออารมณ์เครียด หากเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำอาการหดหู่ซึมเศร้าก็จะยิ่งหนักกว่าเดิม ไส้กรอกตัวร้าย ถั่วปากอ้าก็ไม่น่าไว้ใจ อาหารที่มีสารไทรามีนสูงก็นับว่าเป็นอาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้มี “ภาวะซึมเศร้า” เนื่องจากเจ้าสารไทรามีนนั้นสามารถทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้าบางตัวจนเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ โดยอาหารที่มีสารไทรามีนสูงก็คืออาหารจำพวกไส้กรอกและถั่วปากอ้า ชา กาแฟ ก็เลี่ยงให้ไว เครื่องดื่มที่ผู้มี “ภาวะซึมเศร้า” ควรเลี่ยงเป็นอันดับต้น ๆ คือเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ (อาจต้องโบกมือลาชานมไข่มุกที่เป็นทั้งชา แถมหวานอีกด้วย) เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนในชาและกาแฟส่งผลต่อการนอน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับสารเคมีในสมองให้สมดุล นอกจากนั้นถ้าร่างกายมีปริมาณคาเฟอีนมากไปก็จะทำให้สาว […]
“อ่อนแอ” “คิดมาก” “ไม่สู้กับปัญหา” ไม่ใช่ต้นเหตุของ “ภาวะซึมเศร้า” เสมอไป แม้ว่าในช่วงหลังมานี้ เราจะคุ้นกับคำว่า “ภาวะซึมเศร้า” กันมากขึ้นจากเมื่อก่อนบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจอาการนี้อย่างผิดๆ แน่นอนว่าคนเหล่านั้นก็จะมองคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไปตามสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ ซึ่งนั้นอาจไม่ใช่เรื่องผิดร้ายแรงอะไร ถ้าหากเราไม่ได้ไปข้องเกี่ยวกับผู้ป่วยโดยตรง แต่ในความเป็นจริง โรคนี้อาจจะใกล้ตัวเรามากจนเราแทบไม่ทันตั้งตัวเลยด้วยซ้ำ . โรคซึมเศร้า (Major depression) จะเกิดเป็นลักษณะของอารมณ์เป็นหลัก ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเศร้า หดหู่ ท้อแท้ และเบื่อหน่าย ทำให้มีอาการข้างเคียงที่ตามมา . . ใครเริ่มรู้สึกหดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวกับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย นอนไม่หลับหรือหลับมากไป เฉื่อยชา ไม่มีความสุข รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า อยากตาย อาจจะต้องเฝ้าระวังไว้เลย เพราะโรคซึมเศร้าอาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวเองคุณอีกต่อไป ทั้งนี้ทั้งนี้ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือรักษาไม่หาย ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และสิ่งที่สำคัญก็คือตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งส่งผลโดยตรง . . ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนไม่น้อยเลย บางคนเป็นโดยไม่รู้ตัว บางคนคิดว่าเป็นเพราะคิดมากไปเองก็มี ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้น เราเองก็อย่าชะล่าใจไปเลยค่ะ ไม่มีใครอยากป่วยหรือให้คนรอบข้างเป็นหรอก แต่ถ้าเกิดเป็นขึ้นมาจริงๆ เราก็ต้องเข้าใจและยอมรับ […]