รู้เขารู้เรา ! เข้าใจทุกรูปแบบความรักด้วยหลัก “จิตวิทยา”
“จิตวิทยา” รูปแบบความรักของเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน…บางคนเลือกที่จะรักแบบทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักตอบแทน แต่แล้วความสัมพันธ์ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า บางคนแม้ว่าตัวไกล แต่ใจไม่เคยห่าง ครองรักกันจนอยู่รอดปลอดภัย จนคนอื่นแปลกใจ อ่าว !? ยังคบกันอยู่เหรอ ในขณะเดียวกันก็ยังมีบางคนที่กลับกลัวการเริ่มต้น ไม่ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรัก…ทำไมถึงเป็นแบบนั้นและเราจะรับมือกับทุกรูปแบบความสัมพันธ์นี้ได้อย่างไร ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยา “ทฤษฏีความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment Theory of Love )” มันคืออะไรน่ะเหรอ อยากรู้แล้วใช่มั้ยล่ะ ! . . ทำไม “รัก” ของเราถึงแตกต่าง ? สาเหตุที่คนเรามีรูปแบบความรักที่หลากหลาย ถ้าจะให้อธิบายตาม “ทฤษฎีความผูกพันธ์ทางอารมณ์ (Attachment Theory of Love) แล้วนั้น นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า…ตั้งแต่ที่เรายังเป็นทารก เราจะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับพ่อแม่ โดยที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวดังกล่าวก่อให้เกิดความคาดหวังที่จะได้รับความรักในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปติดตัวเรามาตั้งแต่ตอนนั้น และจุดนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์และความรักของคุณเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จากการใช้ประสบการณ์ในอดีต ซึ่งเราสามารถแบ่งรูปแบบความรักของคนออกมาได้ 3 ประเภทที่คุณควรรู้ไว้ จะได้เข้าใจตัวเองและคนรักค่ะ : ) Secure Type “ความรักคือเรื่องราวดีๆ” . คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น เติบโตมาด้วยความรู้สึกปลอดภัย ได้รับความรักอย่างเต็มที่ ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดตอนเป็นเด็ก คาดหวังในความรักแล้วได้ความรักกลับมาเสมอ ทำให้เขาหรือเธอเกิดความรู้สึกมั่นใจ รู้สึกเชื่อมั่นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความรัก และไม่ว่ายังไงตนเองก็จะได้ความรักเสมอ ! […]